ถ้าให้พูดถึงภาคใต้… สำหรับภาคใต้นั้นเรามองว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ ผลไม้ อาหาร หรือแม้แต่กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยว และที่สำคัญขนมพื้นบ้านในภาคใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งในซิกเนเจอร์ ที่เราต้องทำความรู้จักกันให้มากขึ้น ขนมท้องถิ่นปักษ์ใต้มีหลากหลายชนิด และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากขนมพื้นบ้านภาคอื่น ขนมบางชนิดอาจจะเห็นเฉพาะในงานสำคัญ หรือเทศกาลต่าง ๆ เท่านั้น จึงหากินได้ยาก วันนี้แอดจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับขนมท้องถิ่นแห่งปักษ์ใต้ ว่ามีขนมอะไรบ้าง
ขนมพื้นบ้านภาคใต้
1.ขนมกรวย
ขนมกรวยหรือขนมหางจิ้งจก สามารถหาทานได้ทั่วทุกพื้นที่ของภาคใต้ ลักษณะทำจากกรวย ตัวขนมจะมี 2 ส่วน คือ ตัวขนม ทำจากแป้งข้าวจ้าว แป้งมัน แป้งข้าวโพดและน้ำตาลทราย และหน้าขนม ประกอบด้วย กะทิ แป้งและเกลือ ทำให้สุกโดยการหยอดแป้งขนม ลงในกรวยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก นอกจากตัวขนมที่ทำจากแป้งก็ยังสามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ด้วยอย่าง ฟักทอง เผือก และกล้วย ส่วนชื่อขนมจะเรียกจากส่วนผสมที่นำมาทำนั่นเอง
2.โอ้เอ๋ว
ของหวานเมืองภูเก็ตอันลือชื่อ ส่วนผสมหลักคือ กล้วยน้ำว้าผสมกับโอ้เอ๋ว โดยนำเมล็ดโอ้เอ๋วมาแช่น้ำ แล้วเอาเฉพาะเมือกมาใส่เจี่ยกอ เพื่อให้โอ้เอ๋วเกาะตัวกันเป็นก้อนคล้ายวุ้น ใส่ถั่วแดงต้มสุก แล้วนำมารับประทานกับน้ำแข็งใส สรรพคุณแก้ร้อนใน และลดการกระหายน้ำ เมนูขนมหวานชนิดนี้หารับประทานได้ทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต ใครที่มีโอกาสไปเที่ยวจึงไม่ควรพลาด
3.หม่อหลาว (ม่อหลาว)
หรือที่เรียกว่าขนมงาพอง เป็นขนมพื้นเมืองของพังงาและภูเก็ต เป็นขนมที่ทำมาจากงาและเผือก มีที่มาจากชาวจีนโพ้นทะเลในมณฑลฮกเกี้ยน ที่ได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้มีการผสมผสานระหว่างไทย-จีน เป็นขนมที่มีกรรมวิธีการทำซับซ้อน ดังนั้นจึงมีผู้ที่สืบทอดน้อยราย ขนมรสชาติอร่อย กรอบ หอมงา ต้องทานหลังทำเสร็จ 3 วันขึ้นไป ยิ่งนานยิ่งอร่อย ทานกับชาอุ่น ๆ ได้
4.อาโป๊ง
ขนมพื้นเมืองของภูเก็ต มีรูปร่างคล้ายขนมโตเกียว คล้ายขนมเบื้อง นิยมทานคู่กับน้ำชาและกาแฟ รสชาติหวาน กรอบ และมีกลิ่นหอม แต่เดิมขนมอาโป๊งเป็นขนมพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย ซึ่งเรียกกันว่า ขนมเบื้อง และต่อมาได้เข้ามาแพร่หลายในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากชาวมาเลเซียปีนังได้ย้ายเข้ามาอยู่ภูเก็ต ขนมอาโป๊งจึงกลายมาเป็นขนมพื้นเมืองภูเก็ตด้วยเช่นกัน
5.ขนมลา
เป็นขนมหวานพื้นบ้านของคนจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำจากแป้งข้าวเจ้าบวกกับแป้งข้าวเหนียว ผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วหยอดผ่านกะลามะพร้าวเจาะรู แกว่งส่ายเป็นวงกลม ลงบนกระทะที่มีน้ำมันร้อนจัด ทำให้ได้แผ่นแป้งขนมที่มีเส้นราวใยไหม สอดประสานกันเป็นร่างแหสวยงาม พับเป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อให้รับประทานได้ง่าย ให้รสชาติที่หอม กรอบ อร่อย
6.หนมลูกโหนด
หนมลูกโหนดหรือขนมลูกตาล เป็นขนมที่คนเฒ่าคนแก่รุ่นตายายทำให้ลูกหลานกิน เนื่องจากลูกโหนดมีอยู่ในพื้นที่ นำมาดัดแปลงเป็นขนม รสชาติหอมลูกโหนด หวานมันกำลังดี หนึบหนับจากแป้งข้าวจ้าวและแป้งมัน กรุบ ๆ เนื้อมะพร้าวสด หวานหอมเฉพาะตัวจากเนื้อลูกตาลสุก และน้ำตาลเหลว
7.โกสุ้ย (ขนมถ้วย)
โกสุ้ยหรือขนมถ้วยน้ำตาลแดง ที่ทำจากน้ำตาลแดง ตัวขนมสีน้ำตาล มีรสหวาน เนื้อขนมเหนียว เสิร์ฟคู่ มะพร้าวขูดขาวคลุกเกลือ อร่อยลงตัวมากกกกกก
8.ขนมต้มใบกะพ้อ
หรือที่เรียกว่า ข้าวต้มใบกะพ้อ เป็นขนมของชาวปักษ์ใต้ นิยมทำกันในช่วงงานบุญต่าง ๆ ถ้าเป็นชาวพุทธก็จะนิยมทำกันในช่วงออกพรรษา หรือไม่ก็ช่วงงานชักพระ ลากพระทั้งหลาย ชาวบ้านก็จะทำขนมต้มไปใส่บาตร หรือไปถวายพระ
9.ขนมโค
ขนมโคเป็นขนมพื้นบ้านของคนปักษ์ใต้ คล้ายขนมต้มของคนภาคกลาง แต่จะต่างตรงไส้ มีรสชาติหวานจากน้ำตาลแว่น ความเหนียวของแป้งข้าวเหนียว และความมันของมะพร้าว ใครได้ชิมก็ต้องติดใจ
10.ขนมกอและ
ขนมกอและหรือขนมกอแหละ มีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมมีสีขาวโรยหน้าด้วยถั่วเขียวซีกและต้นหอมหั่น ทำโดยนำแป้งข้าวเจ้าละลายกับน้ำกะทิแล้วแล้วนำมากวนด้วยไฟแรง แล้วยกลงจากเตาไฟเทใส่ถาด ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม แล้วโรยหน้าด้วยเมล็ดถั่วเขียวซึก และต้นหอมหั่น ใช้รับประทานคู่กับเครื่องโรยหน้ามีมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งบด และน้ำตายทรายละเอียด
11.ขนมหัวล้าน
ทำจากแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่ทำมาจากถั่วเขียวนึ่งบด กวนกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ปั้นเป็นรูปกลม ๆ นำไปนึ่งให้สุก ราดด้วยกะทิ ถ้าไม่นึ่งแต่นำไปทอดเรียกขนมหัวล้านทอด หนึบหนับอร่อยมาก
12.ขนมเจาะหู
ขนมเจาะหู หรือขนมเจาะรู เป็นขนมที่เค้าใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบ ของภาคใต้ ความหมายปัจจุบ้น ถือเสมือนเป็นเครื่องประดับจำพวกตุ้มหูหรือต่างหู หรือเงินรูสมัยโบราณ