ขนมท้องถิ่นแห่งปักษ์ใต้

ขนมท้องถิ่นปักษ์ใต้มีหลากหลายชนิด และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากขนมพื้นบ้านภาคอื่น ขนมบางชนิดอาจจะเห็นเฉพาะในงานสำคัญ หรือเทศกาลต่าง ๆ เท่านั้น จึงหากินได้ยาก

ถ้าให้พูดถึงภาคใต้… สำหรับภาคใต้นั้นเรามองว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ ผลไม้ อาหาร หรือแม้แต่กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยว และที่สำคัญขนมพื้นบ้านในภาคใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งในซิกเนเจอร์ ที่เราต้องทำความรู้จักกันให้มากขึ้น ขนมท้องถิ่นปักษ์ใต้มีหลากหลายชนิด และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากขนมพื้นบ้านภาคอื่น ขนมบางชนิดอาจจะเห็นเฉพาะในงานสำคัญ หรือเทศกาลต่าง ๆ เท่านั้น จึงหากินได้ยาก วันนี้แอดจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับขนมท้องถิ่นแห่งปักษ์ใต้ ว่ามีขนมอะไรบ้าง

ขนมพื้นบ้านภาคใต้

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมกรวย
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมกรวย

1.ขนมกรวย

ขนมกรวยหรือขนมหางจิ้งจก สามารถหาทานได้ทั่วทุกพื้นที่ของภาคใต้ ลักษณะทำจากกรวย ตัวขนมจะมี 2 ส่วน คือ ตัวขนม ทำจากแป้งข้าวจ้าว แป้งมัน แป้งข้าวโพดและน้ำตาลทราย และหน้าขนม ประกอบด้วย กะทิ แป้งและเกลือ ทำให้สุกโดยการหยอดแป้งขนม ลงในกรวยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก นอกจากตัวขนมที่ทำจากแป้งก็ยังสามารถเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ด้­วยอย่าง ฟักทอง เผือก และกล้วย ส่วนชื่อขนมจะเรียกจากส่วนผสมที่นำมาทำนั่นเอง

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ โอ้เอ๋ว
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ โอ้เอ๋ว

2.โอ้เอ๋ว

ของหวานเมืองภูเก็ตอันลือชื่อ ส่วนผสมหลักคือ กล้วยน้ำว้าผสมกับโอ้เอ๋ว โดยนำเมล็ดโอ้เอ๋วมาแช่น้ำ แล้วเอาเฉพาะเมือกมาใส่เจี่ยกอ เพื่อให้โอ้เอ๋วเกาะตัวกันเป็นก้อนคล้ายวุ้น ใส่ถั่วแดงต้มสุก แล้วนำมารับประทานกับน้ำแข็งใส สรรพคุณแก้ร้อนใน และลดการกระหายน้ำ เมนูขนมหวานชนิดนี้หารับประทานได้ทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต ใครที่มีโอกาสไปเที่ยวจึงไม่ควรพลาด

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ หม่อหลาว
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ หม่อหลาว

3.หม่อหลาว (ม่อหลาว)

หรือที่เรียกว่าขนมงาพอง เป็นขนมพื้นเมืองของพังงาและภูเก็ต เป็นขนมที่ทำมาจากงาและเผือก มีที่มาจากชาวจีนโพ้นทะเลในมณฑลฮกเกี้ยน ที่ได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้มีการผสมผสานระหว่างไทย-จีน เป็นขนมที่มีกรรมวิธีการทำซับซ้อน  ดังนั้นจึงมีผู้ที่สืบทอดน้อยราย ขนมรสชาติอร่อย กรอบ หอมงา ต้องทานหลังทำเสร็จ 3 วันขึ้นไป ยิ่งนานยิ่งอร่อย ทานกับชาอุ่น ๆ ได้

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ อาโป๊ง
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ อาโป๊ง

4.อาโป๊ง

ขนมพื้นเมืองของภูเก็ต มีรูปร่างคล้ายขนมโตเกียว คล้ายขนมเบื้อง นิยมทานคู่กับน้ำชาและกาแฟ รสชาติหวาน กรอบ และมีกลิ่นหอม แต่เดิมขนมอาโป๊งเป็นขนมพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย ซึ่งเรียกกันว่า ขนมเบื้อง และต่อมาได้เข้ามาแพร่หลายในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากชาวมาเลเซียปีนังได้ย้ายเข้ามาอยู่ภูเก็ต ขนมอาโป๊งจึงกลายมาเป็นขนมพื้นเมืองภูเก็ตด้วยเช่นกัน

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมลา
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมลา

5.ขนมลา

เป็นขนมหวานพื้นบ้านของคนจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำจากแป้งข้าวเจ้าบวกกับแป้งข้าวเหนียว ผสมกับน้ำตาลเคี่ยว แล้วหยอดผ่านกะลามะพร้าวเจาะรู แกว่งส่ายเป็นวงกลม ลงบนกระทะที่มีน้ำมันร้อนจัด ทำให้ได้แผ่นแป้งขนมที่มีเส้นราวใยไหม สอดประสานกันเป็นร่างแหสวยงาม  พับเป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อให้รับประทานได้ง่าย ให้รสชาติที่หอม กรอบ อร่อย

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ หนมลูกโหนด
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ หนมลูกโหนด

6.หนมลูกโหนด

หนมลูกโหนดหรือขนมลูกตาล เป็นขนมที่คนเฒ่าคนแก่รุ่นตายายทำให้ลูกหลานกิน เนื่องจากลูกโหนดมีอยู่ในพื้นที่ นำมาดัดแปลงเป็นขนม รสชาติหอมลูกโหนด หวานมันกำลังดี หนึบหนับจากแป้งข้าวจ้าวและแป้งมัน กรุบ ๆ เนื้อมะพร้าวสด หวานหอมเฉพาะตัวจากเนื้อลูกตาลสุก และน้ำตาลเหลว

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ โกสุ้ย
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ โกสุ้ย

7.โกสุ้ย (ขนมถ้วย)

โกสุ้ยหรือขนมถ้วยน้ำตาลแดง  ที่ทำจากน้ำตาลแดง ตัวขนมสีน้ำตาล มีรสหวาน เนื้อขนมเหนียว เสิร์ฟคู่ มะพร้าวขูดขาวคลุกเกลือ อร่อยลงตัวมากกกกกก

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมต้มใบกะพ้อ
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมต้มใบกะพ้อ

8.ขนมต้มใบกะพ้อ

หรือที่เรียกว่า ข้าวต้มใบกะพ้อ เป็นขนมของชาวปักษ์ใต้ นิยมทำกันในช่วงงานบุญต่าง ๆ ถ้าเป็นชาวพุทธก็จะนิยมทำกันในช่วงออกพรรษา หรือไม่ก็ช่วงงานชักพระ ลากพระทั้งหลาย ชาวบ้านก็จะทำขนมต้มไปใส่บาตร หรือไปถวายพระ

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมโค
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมโค

9.ขนมโค

ขนมโคเป็นขนมพื้นบ้านของคนปักษ์ใต้ คล้ายขนมต้มของคนภาคกลาง แต่จะต่างตรงไส้ มีรสชาติหวานจากน้ำตาลแว่น ความเหนียวของแป้งข้าวเหนียว และความมันของมะพร้าว ใครได้ชิมก็ต้องติดใจ

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมกอและ
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมกอและ

10.ขนมกอและ

ขนมกอและหรือขนมกอแหละ มีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมมีสีขาวโรยหน้าด้วยถั่วเขียวซีกและต้นหอมหั่น ทำโดยนำแป้งข้าวเจ้าละลายกับน้ำกะทิแล้วแล้วนำมากวนด้วยไฟแรง แล้วยกลงจากเตาไฟเทใส่ถาด ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม แล้วโรยหน้าด้วยเมล็ดถั่วเขียวซึก และต้นหอมหั่น ใช้รับประทานคู่กับเครื่องโรยหน้ามีมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งบด และน้ำตายทรายละเอียด

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมหัวล้าน
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมหัวล้าน

11.ขนมหัวล้าน

ทำจากแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่ทำมาจากถั่วเขียวนึ่งบด กวนกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ปั้นเป็นรูปกลม ๆ นำไปนึ่งให้สุก ราดด้วยกะทิ ถ้าไม่นึ่งแต่นำไปทอดเรียกขนมหัวล้านทอด หนึบหนับอร่อยมาก

ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมเจาะหู
ขนมพื้นบ้านภาคใต้ ขนมเจาะหู

12.ขนมเจาะหู

ขนมเจาะหู หรือขนมเจาะรู เป็นขนมที่เค้าใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบ ของภาคใต้ ความหมายปัจจุบ้น ถือเสมือนเป็นเครื่องประดับจำพวกตุ้มหูหรือต่างหู หรือเงินรูสมัยโบราณ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *