ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้

ภาคใต้ ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่น ๆ ของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก

สำหรับภาคใต้ เป็นภาคที่แอดชอบมาก เนื่องจากภาคใต้เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลที่สวยมาก สถานที่ท่องเที่ยวก็งดงาม และยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี วิถีชีวิตของชาวใต้ยังโดดเด่นมีเอกลักษณ์ ชวนให้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด ในแต่ละปีภาคใต้จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวกันมากมาย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับภาคใต้ให้มากขึ้น

ภาคใต้มีกี่จังหวัด

ภาคใต้ มีทั้งหมด 14 จังหวัด ดังนี้

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. ตรัง
  4. นครศรีธรรมราช
  5. นราธิวาส
  6. ปัตตานี
  7. พังงา

8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สตูล
14. สุราษฎร์ธานี

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้

วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคใต้ แบ่งออกได้ ดังนี้

1.วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น

ภาคใต้มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วน ๆ สั้น ๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวีหรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้เช่น แหลง(พูด) หร๋อย(อร่อย) หวังเหวิด(เป็นห่วง) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวีเพราะนับถือศาสนาอิสลาม

2.วัฒนธรรมการแต่งกาย

ประชาชนในภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ทำให้การใช้วัสดุและรูปแบบมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย

  • กลุ่มเชื้อสายจีน-มลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี้ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงามที่ผสมผสานรูปแบบของชาวจีนและมลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ, เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
  • กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิมของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมีเชื้อสายมลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะหรือซิ่นทอแบบมลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถัก หรือเย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
  • กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและมีผ้าขาวม้าผูกเอวหรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธีกลับหน้า

3.วัฒนธรรมการกิน

อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ๆ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

4.วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ

 ความเชื่อของชาวไทยในภาคใต้ จำแนกตามมูลฐานที่เกิดได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ

  • ความเชื่อที่เกี่ยวกับลัทธิและศาสนา ความเชื่อกลุ่มนี้แตกต่างกันไปตามชนกลุ่มน้อย และศาสนาชนกลุ่มน้อยในภาคใต้มี 2 กลุ่ม คือ ชาวเลหรือชาวน้ำ(ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก) และพวกซาไก(มีเหลืออยู่น้อย เช่น ในเขตจังหวัดยะลา) ความเชื่อของชน 2 กลุ่มนี้ เด่นในเรื่องผี วิญญาณ และอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนความเชื่อที่สืบเนื่องจากศาสนาจำแนกเป็นกลุ่มไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวจีน เช่น ชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น ความเชื่อส่วนหนึ่งถือตามศาสนาบัญญัติ ส่วนหนึ่งเกิดจากประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา และการแปลความบุคลาธิษฐานเป็นรูปของคติความเชื่อซึ่งมักนำไปประสมประสานกับลัทธินิยมดั้งเดิม
  • ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ความเชื่อกลุ่มนี้เกิดจากความเชื่อมั่นต่อความเชื่อกลุ่มแรก ถือว่าชีวิตอยู่ใต้อำนาจของสิ่งเหนือธรรมชาติหรือบุญญาธิการของพระศาสดาและทวยเทพทั้งปวง และถ้าผู้ใดสามารถยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้นก็ดี หรือเพียรบำเพ็ญจนอำนาจเหล่านั้นมีขึ้นในตัวตนก็ดี จะทำให้ตนมีคุณวิเศษเหนือคนสามัญ พวกนี้จึงเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลังและโชคลาง แล้วมักดึงเอาศาสนาเข้ามาผสมผสาน มีอิทธิพลของลัทธิศาสนาพราหมณ์และลัทธินิยมดั้งเดิมผสมอยู่เป็นอันมาก
  • ความเชื่อที่เกี่ยวกับจริยาวัตร ความเชื่อกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกิดแต่อุบายที่จะอบรมสั่งสอนให้ผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ มีความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ซึ่งมีสภาวะทางธรรมชาติและปทัสถานของสังคมนั้น ๆ เป็นเครื่องกำหนด มีการปลูกฝังให้เชื่อตามให้ปฏิบัติตาม มักนำเอาคุณและโทษที่อยู่เหนือวิสัยธรรมชาติมาอ้างเพื่อไม่ให้ฝ่าฝืนหรือละเลย
  • ความเชื่อที่เกี่ยวกับยากลางบ้านและการปัดเป่ารักษาไข้ ความเชื่อกลุ่มนี้เกิดแต่ความจำเป็นในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและปลอดภัยของชีวิต เพื่อบำบัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ ความเชื่อส่วนหนึ่งได้จากประสบการณ์ที่สะสมสืบต่อกันมา ซึ่งมีลักษณะของการคลาดเคลื่อนไขว้เขวเป็นธรรมชาติในตัวของมันเอง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการเดาสุ่ม จึงเป็นความเชื่อที่อาจเป็นจริงได้ และที่เกิดสำคัญผิดเพราะผู้รับช่วงปฏิบัติขาดวิธีการและเครื่องช่วยในการพิสูจน์เลือกเฟ้นยากลางบ้าน ส่วนหนึ่งจึงเป็นประเภทสมุนไพร และอีกส่วนหนึ่งเป็นการรักษาปัดเป่าด้วยเวทมนตร์คาถาที่ผู้สืบทอดปรุงแต่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความศรัทธาเชื่อถือในการใช้ยากลางบ้านหรือใช้เฉพาะเวทมนตร์คาถา

ประเพณีของภาคใต้

ภาคใต้ ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่น ๆ ของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก

1.ประเพณีลอยเรือชาวเล

เป็นงานประเพณีเก่าแก่ที่หาดูได้ยากของชาวเลเกาะลันตา งานนี้จัดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และเดือน 11 โดยกลุ่มชาวเลที่เกาะลันตาและเกาะใกล้เคียง จะมาชุมนุมกันทำพิธีลอยเรือ เพื่อสะเดาะเคราะห์ บริเวณชายหาดใกล้กับบ้านศาลาด่าน มีการร้องรำทำเพลง และการร่ายรำรอบลำเรือด้วยจังหวะและทำนองเพลงรองเง็ง

2.ประเพณีลาซัง

เป็นพิธีกรรมที่กระทำขึ้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพชาวนา หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำนามาทั้งปี นับว่าเป็นประเพณีปฏิบัติอย่างหนึ่ง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ได้เห็นการทำงานร่วมกันของคนในท้องถิ่นที่เปี่ยมไปด้วยความสมัครสมานสามัคคี และที่สำคัญที่สุดคือ ความเป็นยอดแห่งความกตัญญูกตเวที ที่มีต่อพระแม่โพสพซึ่งเป็นเทพแห่งข้าว

3.ประเพณีชิงเปรต

เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือวัน ” ส่งเปรต ” กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่

4.ประเพณีชักพระ

ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง

5.ประเพณีแห่พระแข่งเรือ

มีในหลายจังหวัดของภาคใต้ เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา มีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังวันออกพรรษา 1 วัน  (ราวเดือนตุลาคม) สำหรับประเพณีแห่พระแข่งเรือของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรถือเป็นงานใหญ่ประจำจังหวัดชุมพร   สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ว่ากันว่าในยุคนั้นเศรษฐกิจสยามรุ่งเรือง มีการสร้างวัดวาอารามมากมายหลายวัด จึงน่าเป็นที่มาของการเกิดประเพณีแห่พระหรือชักพระ หรือลากพระ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฤดูน้ำหลาก ผู้คนว่างเว้นจากช่วงเวลาเพาะปลูก

วันนี้เราได้ยกตัวอย่างประเพณีภาคใต้มาพอคร่าว ๆ ยังมีประเพณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากให้ทุกคนได้ไปสัมผัส บอกเลยว่านอกจากความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ๆ ใครเคยไปสัมผัสกับบรรยากาศในประเพณีต่าง ๆ ในภาคใต้มาแล้ว อย่าลืมคอมเม้นต์รีวิวกันด้วยน๊าาา

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *