เกร็ดความรู้ ภาษาถิ่นใต้ไม่ได้มีแค่ภาษาเดียว

ถ้าพูดถึงภาษาถิ่นไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน หรือภาษาถิ่นใต้เอง จะไม่ได้มีแค่ภาษาเดียว แต่จะมีแยกย่อยลงไปอีกตามแต่ละพื้นที่

ถ้าพูดถึงภาษาถิ่นไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน หรือภาษาถิ่นใต้เอง จะไม่ได้มีแค่ภาษาเดียว แต่จะมีแยกย่อยลงไปอีกตามแต่ละพื้นที่ แต่ก็จะมีความใกล้ชิดกัน มีการใช้คำที่ร่วมกัน บางคำก็ยืมมาจากถิ่นอื่น ๆ บางคำก็สำเนียงไม่เหมือนกัน เป็นต้น
ถ้าเราพูดถึงเฉพาะภาษาถิ่นใต้หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ (ตามสำเนียง การออกเสียง และมีบางคำศัพท์ที่แตกต่างกันออกไป)

  • ภาษาถิ่นใต้ กลุ่มตะวันออก เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณทางตะวันออกของคาบสมุทร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา เรื่อยไปจนถึงรัฐเกอดะฮ์ และปะลิสของประเทศมาเลเซีย
  • ภาษาถิ่นใต้ กลุ่มตะวันตก เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า
  • ภาษาถิ่นใต้ กลุ่มตอนล่าง เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส โดยสำเนียงปัตตานีและยะลามีความเชื่อมโยงกันมาก และใกล้ชิดกับสำเนียงนราธิวาสเป็นลำดับถัดมา มีการยืมคำมลายูค่อนข้างหนาแน่น เพราะตั้งชุมชนอยู่ท่ามกลางชาวไทยเชื้อสายมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะในอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอสายบุรี และอำเภอตากใบ

เรื่องของภาษาศาสตร์เป็นอะไรที่ศึกษาแล้วไม่จบได้ง่าย ๆ เพราะภาษาจะมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ยิ่งโลกของเราทุกวันนี้เชื่อมต่อกันผ่านทางโลกออนไลน์ทั้งหมด บางทีเราก็จะเห็นมีการเอาภาษาใต้ ไปรวมกับภาษาเหนือ และ ภาษาอีสานพ่วงเข้ามาอีกก็มี ยิ่งศึกษาก็ยิ่งสนุกและได้ความรู้ ขอให้เพื่อน ๆ สนุกกับการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ 🙂

ภาษาใต้.com
ภาษาใต้.com
Articles: 2

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *